ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานพิธีเปิดงาน “SOOKSIAM ลำนำ วันเพ็ญ” ต้อนรับเทศกาลลอยกระทง วันที่ 18-30 พฤศจิกายน 2566 ณ เมืองสุขสยาม ไอคอนสยาม กรุงเทพฯ

ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานพิธีเปิดงาน “SOOKSIAM ลำนำ วันเพ็ญ” ต้อนรับเทศกาลลอยกระทง วันที่ 18-30 พฤศจิกายน 2566 ณ เมืองสุขสยาม ไอคอนสยาม กรุงเทพฯ

คุณสุรพล เกียรติไชยากร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานพิธีเปิดงาน “SOOKSIAM ลำนำ วันเพ็ญ” ต้อนรับเทศกาลลอยกระทง ประจำปี 2566 โดยมีคุณลักขณา นะวิโรจน์ ประธานโครงการเมืองสุขสยาม คุณไพรัช วิเศษศิริลักษณ์ ผู้บริหารสายงานบริการลูกค้า บริษัท ไอคอนสยาม จำกัด คุณสุรพล เศวตเศรนี ประธานการจัดงาน River Festival 2023 สายน้ำแห่งวัฒนธรรมไทย คุณณภัช รัตนศักดิ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท สายน้ำแห่งวัฒนธรรม จำกัด และบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ผู้แทนกระทรวงวัฒนธรรม หน่วยงานรัฐ เอกชนและหน่วยงานต่าง ๆ ที่ร่วมจัดงานเข้าร่วม ณ เมืองสุขสยาม ไอคอนสยาม ชั้น G กรุงเทพฯ

งาน “SOOKSIAM ลำนำ วันเพ็ญ” ต้อนรับเทศกาลลอยกระทง ประจำปี 2566 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 18-30 พฤศจิกายน 2566 เพื่อสืบสานวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามและเผยแพร่มรดกภูมิปัญญาของไทยให้เป็นที่รู้จักไปทั่วโลก โดยนำมาต่อยอดด้วยการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ สร้างรายได้ให้แก่ชุมชนและประเทศสอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล ซึ่งงานนี้มีกิจกรรม เช่น การลอยกระทงในบ่อลอยรักษ์โลก จัดแสดงกระทงสุโขทัยขนาดใหญ่ จัดแสดงโคมล้านนาหลากชนิด การแสดงศิลปวัฒนธรรม 4 ภาค การแสดงศิลปะแม่ไม้มวยไทย การแสดงดนตรีรำวงย้อนยุคโรงเรียนสีกัน (วัฒนาอุปถัมภ์) การแสดงของวงโปงลางสะออน การประกวดนางนพมาศ AEC และตลาดย้อนยุค 4 ภาค มีการจำหน่ายอาหาร ขนมและผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมต่าง ๆ

สำหรับเทศกาลลอยกระทง ถือเป็นประเพณีที่สำคัญอย่างหนึ่งของประเทศไทย ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ประเพณีที่มีการปฏิบัติสืบทอดกันอย่างต่อเนื่องยาวนานกว่า 700 ปี นับตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย โดยในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช เรียกประเพณีลอยกระทงนี้ว่า “พิธีจองเปรียง” หรือ “การลอยพระประทีป” มีหลักฐานจากศิลาจารึกหลักที่ 1 กล่าวถึงงานเผาเทียนเล่นไฟว่า เป็นงานรื่นเริงที่ใหญ่ที่สุดของกรุงสุโขทัย สาระสำคัญที่สอดแทรกอยู่ในประเพณีลอยกระทงคือ ความกตัญญูรู้คุณ คนโบราณ เชื่อว่าการลอยกระทงเป็นการขอขมาต่อน้ำและพระแม่คงคา ที่มีส่วนสำคัญในการดำรงชีวิตของมนุษย์ทั้งการอุปโภคและบริโภค ด้วยความสำนึกในบุญคุณของน้ำ จึงได้กำหนดวันเพื่อแสดงความกตัญญูขึ้นปีละครั้ง เป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นว่า คนไทยมีความผูกพันกับสายน้ำนับแต่อดีตจวบจนถึงปัจจุบัน

Loading

Share this post


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า