วช. สนับสนุนแนวทาง Zero waste หนุน ม.แม่ฟ้าหลวง ม.เกษตรศาสตร์ ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี นำวิจัยและนวัตกรรม เพิ่มมูลค่ากระบวนการแปรรูป “สับปะรดภูแล” สินค้า GI เชียงราย

วช. สนับสนุนแนวทาง Zero waste หนุน ม.แม่ฟ้าหลวง ม.เกษตรศาสตร์ ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี นำวิจัยและนวัตกรรม เพิ่มมูลค่ากระบวนการแปรรูป “สับปะรดภูแล” สินค้า GI เชียงราย

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม นำโดย ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ พร้อมด้วยผู้ทรงคุณวุฒิ วช. และสื่อมวลชน ลงพื้นที่ติดตาม ”โครงการการใช้นวัตกรรมเพื่อเพิ่มมูลค่าวัสดุเศษเหลือและการประเมินคาร์บอนฟุตพรินต์ในห่วงโซ่การผลิตและการแปรรูปสับปะรดภูแล เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม” ณ ห้อง Food Maker Space มหาวิทยาแม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย และพื้นที่กลุ่มวิสาหกิจผู้ปลูกสัปปะรดภูแล เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2567

ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า วช. เล็งเห็นถึงความสำคัญของโครงการ และให้การสนับสนุนโครงการดังกล่าว ตามแนวทาง Zero waste ที่นำผลไม้ GI ของจังหวัดเชียงราย “สับประรดภูแล” มาใช้ประโยชน์อย่างคุ้มค่า โดยมีการนำวัสดุเศษเหลือจากกระบวนผลิตและแปรรูป มาใช้ประโยชน์เพื่อลดปริมาณการปลดปล่อยคาร์บอน โดย วช. มุ่งผลักดันโครงการดังกล่าวให้มีการพัฒนา ต่อยอดและขยายตลาดให้ไปสู่ระดับจังหวัดและในระดับประเทศ

รศ.ดร.วาริช ศรีละออง และ รศ.ดร.อนรรฆ ขันธะชวนะ จาก มจธ., ผศ.ดร.พันธ์สิริ สุทธิลักษณ์ และ ผศ.ดร.สุทธิวัลย์ สีทา จากม.แม่ฟ้าหลวง และ ผศ.ดร.สอนกิจจา บุญโปร่ง จาก ม.เกษตรศาสตร์ พร้อมด้วยทีมคณะนักวิจัย ได้ร่วมกันนำเสนอความก้าวหน้าและผลสำเร็จ จากการวิจัยและการศึกษาการใช้ประโยชน์จากวัสดุเศษเหลือและศึกษาการปลดปล่อยคาร์บอนในการผลิตสับปะรดภูแลในเขตจังหวัดเชียงราย ที่เป็นสินค้า GI ของจังหวัดเชียงราย มียอดสั่งซื้อจากต่างประเทศ ทั้งในรูปของผลสด ผลปอกเปลือกหรือตัดแต่งก่อนส่งออกติดต่อกันทุกปี จนทำให้ปัจจุบัน มีพื้นที่ปลูกสับปะรดชนิดนี้ในจังหวัดเชียงราย มากกว่า 5 หมื่นไร่ มีผลผลิตมากกว่าหนึ่งแสนตันต่อปี

จึงได้นำกระบวนการในการสร้างมูลค่าเพิ่มจากของวัสดุเศษเหลือในกระบวนการผลิต และเพื่อให้ได้ตัวเลขการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของผลิตภัณฑ์สับปะรดภูแล ซึ่งได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจาก วช. เพื่อศึกษาเศษเหลือใช้จากสับปะรดในการเพิ่มมูลค่า โดยนำตาของสับปะรดที่มีน้ำตาล glucose fructose และ sucrose เป็นหลัก โดยสามารถเปลี่ยนน้ำตาล fructose จากเปลือกและตาสับปะรดไปเป็น D – allulose หรือน้ำตาลหายาก เป็นสารให้ความหวาน ที่นิยมใช้ในอุตสาหกรรมอาหารสุขภาพ อีกทั้งลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยใช้ประโยชน์วัสดุเศษเหลือในกระบวนการแปรรูปสับปะรดภูแล ตามแนวทาง Zero waste ซึ่งมีเป้าหมายหลัก เพื่อสร้างความตระหนักให้กับเกษตรกรหรือผู้ประกอบการ เกี่ยวกับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่มีผลกับอุตสาหกรรมในภาพรวม

นอกจากนี้ ยังมีการนำเสนอผลิตภัณฑ์และกระบวนการต่าง ๆ ของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการใช้นวัตกรรมเพื่อเพิ่มมูลค่าวัสดุเศษเหลือ และการประเมินคาร์บอนฟุตพรินต์ในโซ่การผลิตและการแปรรูปสับปะรดภูแล ได้แก่

-เรื่อง “นวัตกรรมการใช้ประโยชน์วัสดุเศษเหลือตามแนวทาง Zero waste”

ผศ.ดร.พันธ์สิริ สุทธิลักษณ์ และ ผศ.ดร.สุทธิวัลย์ สีทา  มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

-เรื่อง “คาร์บอนฟุตพรินต์ของกระบวนการการปลูกและแปรรูปสับประรดภูแลตลอดห่วงโซ่การผลิต”

โดย รศ.ดร.ทรงเกียรติ ภัทรปัทมาวงศ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

-เรื่อง “DRONE + AI ในการวิเคราะห์คาร์บอนฟุตพรินต์” โดย ผศ.ดร.สอนกิจจา บุญโปร่ง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

-เรื่อง “เทคโนโลยีไมโครบับเบิ้ลเพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรม” โดย รศ.ดร.ณัฐชัย พงษ์ประเสริฐ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และมีการแสดงข้อคิดเห็นจากผู้ประกอบการและกลุ่มวิสาหกิจชุมชนอีกด้วย

Loading

Share this post


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า