ศลช. (TCELS) จับมือร่วมกับ มูลนิธิกสิกรไทย อย. และ บพข. ร่วมขับเคลื่อนโครงการน่านแซนด์บอกซ์

ศลช. (TCELS) จับมือร่วมกับ มูลนิธิกสิกรไทย อย. และ บพข. ร่วมขับเคลื่อนโครงการน่านแซนด์บอกซ์

มูลนิธิกสิกรไทย สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) และศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) (ศลช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วมบันทึกความเข้าใจเพื่อความร่วมมือในการพัฒนายาและผลิตภัณฑ์ส่งเสริมสุขภาพจากพืชยาที่ปลูกใต้ป่า ณ ชั้น 39 ระเบียงศิลป์ระฟ้า ธนาคารกสิกรไทย อาคารราษฎร์บูรณะ เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2566

ศลช. (TCELS) นำโดย ดร.จิตต์พร ธรรมจินดา ผู้อำนวยการ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ และดร.ชัยรัตน์ อุทัยพิบูลย์ รองผู้อำนวยการ เข้าร่วมพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจ เพื่อความร่วมมือในการพัฒนายาและผลิตภัณฑ์ส่งเสริมสุขภาพจากพืชยาที่ปลูกใต้ป่า โดยมีคุณทวีพร เกตุอร่าม ผู้อำนวยการ โปรแกรมบริหารเภสัชภัณฑ์และเซลล์บำบัด และดร.พัชราภรณ์ วงษา ผู้อำนวยการ โปรแกรมบริหารโภชนเภสัชภัณฑ์และเวชสำอาง เข้าร่วมงานดังกล่าวด้วย โดยได้รับเกียรติจาก คุณกอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร ประธานมูลนิธิกสิกรไทย นายแพทย์ไพศาล ดั่นคุ้ม เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา รองศาสตราจารย์ ดร.สิรี ชัยเสรี ผู้อำนวยการหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และดร.จิตต์พร ธรรมจินดา ผู้อำนวยการ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ ร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจเพื่อความร่วมมือในการพัฒนายาและผลิตภัณฑ์ส่งเสริมสุขภาพจากพืชยาที่ปลูกใต้ป่า พร้อมด้วยผู้บริหารทั้ง 4 หน่วยงานร่วมเป็นพยานในพิธีลงนามฯ

การร่วมลงนามฯ ในครั้งนี้ เป็นการเชื่อมโยงห่วงโซ่เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับพืชเศรษฐกิจ ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ ตั้งแต่ฐานข้อมูลพืชยาและภูมิปัญญาในการใช้พืชยาในน่านจาก สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน) หรือ BEDO / การผลักดันงานวิจัยให้ใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์และพัฒนามาตราฐานการให้ทุนวิจัยจาก บพข. / การเชื่อมโยงเครือข่ายเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมด้านชีววิทยาศาสตร์ในการผลิตพืชยาจาก ศลช. (TCELS) / การแนะนำสนับสนุนตลอดห่วงโซ่จนถึงการจัดจำหน่ายจาก GPO / การแนะนำเพื่อยกระดับมาตราฐานการวิจัยและผลิตเพื่อขึ้นทะเบียนเป็นยาให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากลจาก อย. จากพืชยาใต้ป่าในจังหวัดน่าน เพื่อสร้างรายได้ต่อพื้นที่ให้มีมูลค่าสูงสุด เป็นการสร้างเศรษฐกิจใหม่และรายได้ที่มั่นคงให้กับเกษตรกรน่าน เพื่อการอยู่ร่วมและฟื้นคืนป่าต้นน้ำน่านอันมีคุณค่าของไทยและของโลกอย่างยั่งยืน โดยมีนายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ร่วมเป็นเกียรติและกล่าวแสดงความยินดีในความร่วมมือที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ด้วย

ดร.จิตต์พร ธรรมจินดา ผู้อำนวยการ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ กล่าวว่า “ในนามของทีเซลส์ (TCELS) รู้สึกมีความยินดีเป็นอย่างยิ่ง และเป็นความภาคภูมิใจที่ได้ร่วมเดินทางเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนโครงการน่านแซนด์บอกซ์ที่มีคุณค่า โดยทีเซลส์ (TCELS) มีบทบาทภารกิจส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์และสุขภาพ และงานด้านสมุนไพรเพื่อนำไปสู่ยา ซึ่งสอดคล้องกับงานของสถาบัน KAI การเดินทางร่วมกันกับ KAI และหน่วยงานพันธมิตรที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ทำให้เชื่อมั่นว่า จะสามารถร่วมกันผลักดันให้เกิดนวัตกรรมทางด้านสมุนไพรและยา และผลิตภัณฑ์ส่งเสริมสุขภาพจากพืชที่สร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ และช่วยฟื้นฟูให้เกิดการคืนกลับมาของป่าต้นน้ำน่าน ตามแนวทางโครงการน่านแซนด์บอกซ์ ซึ่งเป็นปณิธานและเป้าหมายหลักของทุกหน่วยงานที่มาร่วมลงนามฯ ความร่วมมือกันในวันนี้ และเชื่อมั่นว่าโครงการน่านแซนด์บอกซ์ จะประสบความสำเร็จอย่างแน่นอน”

Loading

Share this post


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า