สกสว. พบสื่อมวลชน ชูภาพอนาคตด้านการวิจัยของประเทศ พลิกโฉมสู่การก้าวสู่ประเทศพัฒนาแล้วในปี 2570

สกสว. พบสื่อมวลชน ชูภาพอนาคตด้านการวิจัยของประเทศ พลิกโฉมสู่การก้าวสู่ประเทศพัฒนาแล้วในปี 2570

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) จัดกิจกรรมพบสื่อมวลชนเพื่อสื่อสารบทบาทหน้าที่ของ สกสว. ในการเป็นองค์กรหลักยกระดับศักยภาพและขับเคลื่อนระบบวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม อย่างมีส่วนร่วมเพื่อส่งมอบคุณค่าทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างยั่งยืนนำไปสู่การผลักดันให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว ด้วยการบริหารจัดการงบประมาณของกองทุน ววน. ที่ได้รับอนุมัติปีละประมาณ 16,000 ล้านบาท เพื่อให้เกิดความคุ้มค่าอย่างมีประโยชน์สูงสุด ที่โรงแรม วี ปทุมวัน กรุงเทพฯ ในวันที่ 27 มกราคม 2566

รศ.ดร.ปัทมาวดี โพชนุกูล ผอ. สกสว. กล่าวว่า ประเทศไทยมีการปฏิรูประบบวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ครั้งสำคัญเมื่อ 3 ปีที่แล้ว ทั้งในมิติของการพัฒนาระบบวิจัยและนวัตกรรม และพัฒนากำลังคนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยได้มีการจัดตั้งกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม รวมถึงปรับเปลี่ยนบทบาทหน้าที่ของ สกสว. มาทำหน้าที่สำคัญในการส่งเสริม สนับสนุน และขับเคลื่อนระบบวิจัยและนวัตกรรมทุกแขนงตลอดจนสร้างองค์ความรู้พัฒนานโยบายสาธารณะ และสนับสนุนการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ในเชิงเศรษฐกิจและสังคมเพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน

ผอ. สกสว. กล่าวว่า ได้มีการจัดทำแผนด้าน ววน. ปี 2566-2570 เพื่อเป็นเครื่องมือกำหนดเป้าหมายการพัฒนาวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรมให้สอดคล้องกับเป้าหมายของการพัฒนา พลิกโฉมให้ประเทศมีการพัฒนาอย่างรวดเร็วและยั่งยืน ยกระดับความสามารถในการแข่งขันด้วยเศรษฐกิจ สร้างคุณค่าและยกระดับคุณภาพชีวิต ก้าวเข้าสู่ประเทศพัฒนาแล้วในปี 2570 และพร้อมสำหรับโลกอนาคตด้วยวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยการสานพลังหน่วยงานในระบบ ววน. สถาบันการศึกษา สถาบันวิจัย หน่วยงานภาครัฐ เอกชนและภาคประชาสังคม

ประกอบด้วย 4 ยุทธศาสตร์หลัก ได้แก่ ยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจสร้างคุณค่าและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ให้มีความสามารถในการแข่งขันและพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืนพร้อมสู่อนาคต ยุทธศาสตร์การยกระดับสังคมและสิ่งแวดล้อม ให้มีการพัฒนาอย่างยั่งยืนสามารถแก้ปัญหาท้าทายและปรับตัวได้ทันต่อพลวัตการเปลี่ยนแปลงของโลก ยุทธศาสตร์การพัฒนา วทน. ระดับขั้นแนวหน้าที่ก้าวหน้าล้ำยุค เพื่อสร้างโอกาสใหม่และความพร้อมของประเทศในอนาคต และยุทธศาสตร์การพัฒนากำลังคนและสถาบันวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ให้เป็นฐานการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศแบบก้าวกระโดดอย่างยั่งยืน

ล่าสุด ครม. มีมติเห็นชอบกรอบงบประมาณกองทุนส่งเสริม ววน. ปี 2567 วงเงิน 31,100 ล้านบาท ประกอบด้วย การสนับสนุนงานเชิงกลยุทธ 60-65% แก่หน่วยบริหารจัดการทุน 9 แห่ง งบประมาณเพื่อสนับสนุนงานมูลฐาน 35-40% เพื่อเสริมสร้างศักยภาพของหน่วยงานตามพันธกิจการพัฒนาประเทศทั้ง 188 หน่วยงาน นอกจากนี้ยังได้พัฒนาระบบติดตามและประเมินผลการสนับสนุน ววน. ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญในหลายภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การใช้เงินวิจัยมีประสิทธิภาพสูงสุดตอบโจทย์ความต้องการของประเทศ

3 ปีที่ผ่านมา ความยากในการทำงานอยู่ที่การปรับระบบต่าง ๆ วางกลไกในการขับเคลื่อน จากบทบาทเดิมของ สกว. มาสู่ สกสว. ต้องชี้แจงทำความเข้าใจกับฝ่ายการเมือง และทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง จนได้รับการจัดสรรงบประมาณเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาได้เพียงครึ่งหนึ่งที่ขอไป 31,000 ล้านบาท คือ 16,000 ล้านบาท ปีงบประมาณ 2567 ขอไป 31,000 ล้านบาท เป็นตัวเลขที่ต่ำสุดตามเป้าหมายที่วางเพื่อให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่ก้าวไปสู่ประเทศที่พัฒนาแล้ว ซึ่งหมายความว่า เราจะต้องมีรายได้ประชากรถึง 422,000 บาท ต่อคนต่อปี ขณะที่ปัจจุบันยังอยู่ที่ 243,000 บาท ต่อคนต่อปี ยังมีช่องว่างอยู่ถึง แสนกว่าบาทที่ต้องทำ

ผอ.สกสว. ยืนยันว่า 3 ปีที่ผ่านมา งานวิจัยของไทยก้าวหน้าเกินกว่าที่เราคิด โดยเฉพาะในทางการแพทย์และสาธารณสุข สามารถรับมือกับสถานการณ์โควิด-19 ได้อย่างเห็นผลชัดเจน และมีหลายปัญหาที่สามารถนำงานวิจัยมาใช้ประโยชน์ หลัง 3 ปี ที่ สกสว. ทำงานด้าน set up ได้ดีแล้ว จากนี้เราจะทำงานเชิงรุกให้มากขึ้น และมีบทบาทในการกำหนด agenda ที่ประเทศควรจะทำ และเชื่อมั่นว่า จะทำให้ประเทศพัฒนาด้วยวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม อย่างเห็นผลเป็นรูปธรรม

Loading

Share this post


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า