สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงร่วมการประชุมวิชาการนานาชาติว่าด้วยการเรียนการสอนคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ฯ

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงร่วมการประชุมวิชาการนานาชาติว่าด้วยการเรียนการสอนคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ฯ

วันที่ 31 ตุลาคม 2566 เวลา 9.00 น. สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงร่วมการประชุมวิชาการนานาชาติว่าด้วยการเรียนการสอนคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์หลังภาวะการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร เป็นวันที่สอง ซึ่งการประชุมวิชาการนานาชาตินี้ จัดโดย มูลนิธิส่งเสริมโอลิมปิกวิชาการและพัฒนามาตรฐานวิทยาศาสตร์ศึกษา ในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ (สอวน.) ร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อเฉลิมฉลองในวาระเฉลิมฉลองครบรอบ 100 ปี  วันประสูติ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2566  และโอกาสที่องค์การยูเนสโกประกาศยกย่องสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ทรงเป็นบุคคลสำคัญของโลก ด้านการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรม เนื่องจากพระองค์ทรงมีความสนพระทัยเป็นพิเศษทางด้านการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรม โดยทรงประกอบพระกรณียกิจด้านดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง ซึ่งพระกรณียกิจต่าง ๆ ที่ทรงทำนั้น เป็นประโยชน์สุขต่อคนไทยและประชาคมโลก

โอกาสนี้ทรงรับฟังการบรรยายจาก มิสซูฮยอน คิม (Miss Soohyun Kim) ผู้อำนวยการของสำนักงานยูเนสโกส่วนภูมิภาค ณ กรุงเทพฯ เกี่ยวกับความสำคัญของวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ในการส่งเสริมการเปลี่ยนแปลงและฟื้นฟูสังคมโลกอย่างยั่งยืน รวมถึงการบรรยายจากศาสตราจารย์ นายแพทย์ดรูว์ ไวสส์แมน (Professor Dr. Drew Weissman)  นักวิทยาศาสตร์รางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ ปี 2023 จากผลงานการพัฒนาวัคซีน mRNA และนักวิทยาศาสตร์รางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ปี 2021 ซึ่งกล่าวถึงงานวิจัยที่นำ nucleoside-modified mRNA-LNPs มาใช้ในการรักษาด้วยยีน (gene therapy) ซึ่งพบว่า สามารถพัฒนาความจำเพาะเจาะจงต่อเซลล์เป้าหมายเพื่อรักษาโรคได้ เช่น โรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียว หรือ sickle cell anemia ซึ่งงานวิจัยเกี่ยวกับ nucleoside-modified mRNA นี้ มีศักยภาพในการที่จะพัฒนาเป็นแนวทางในการรักษาโรคต่างๆ นอกจากนี้ทรงรับฟังการบรรยายจากนักการศึกษาชั้นนำ ที่ร่วมเสนอแนะแนวทางการฟื้นฟูการศึกษาหลังการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

Loading

Share this post


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า